วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ข้อ1.ให้หาทฤษฏีการเรียนรู้ ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการทำซ้ำ มีการทบทวน ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเพิ่มทักษะทางการคิด ไปหามาว่าเป็นของใคร ทฤษฏีนั้นว่าอย่างไร

5 ความคิดเห็น:

  1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Classical Connectionism)
    ธอร์นไดคืเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนอง บุคคลจะมีการลองผิดลองถูก ปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียว และจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งต้องใช้กฎต่าง ๆ ในการเชื่อมโยง ดังนี้
    1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
    2. กฎแห่งหารฝึกหัด (Law of Exercise) การฝึกหัดหรือการทำบ่อย ๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร ถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อย ๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงทนถาวร และในที่สุดก็จะลืมได้
    3. กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ความมั่นคงของการเรียนรู้จะเกิดขึ้นหากได้มีการนำไปใช้บ่อย ๆ หากไม่ได้นำไปใช้บ่อย ๆ อาจลืมได้
    4. กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่ออยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจ จะไม่อยากเรียนรู้ ดังนั้น การได้รับผลที่พึงพอใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้
    หลักการจัดการเรียนการสอน
    1. การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูก จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในวิธีการแก้ปัญหา จดจำการเรียนรู้ได้ดี และเกิดความภาคภูมิใจในการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
    2. การสำรวจความพร้อมหรือการสร้างความพร้อมของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน เช่น การสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียน การเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่ความรู้ใหม่
    3. หากต้องการให้ผู้เรียนมีทักษะในเรื่องใดจะต้องช่วยให้เขาเกิดความเข้าใจในเรื่องนั้นอย่างแท้จริง แล้วให้ฝึกฝนโดยกระทำสิ่งนั้นบ่อย ๆ แต่อย่าให้ซ้ำซากเพราะผู้เรียนจะเกิดความเบื่อหน่าย
    4. เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้ว ควรให้ผู้เรียนฝึกนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อย ๆ
    5. การให้ผู้เรียนได้รับผลที่ตนพึงพอใจ จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ

    ตอบลบ
  2. ทฤษฏีคลอสเมียร์ (Klausmeier,1985:105) สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้ จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส (encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด การประมวลผลข้อมูลโดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ คือ การรู้จัก (Recognition) และความสนใจ (Atention) ของบุคคลที่รับสิ่งเร้า บุคคลจะเลือกรับสิ่งเร้าที่ตนรู้จักหรือมีความสนใจ สิ่งเร้านั้นจะได้รับการบันทึกลงในความจำระยะสั้น (Short-Term Memory) ซึ่งดำรงคงอยู่ในระยะเวลาที่จำกัดมาก แต่ละบุคคลมีความสามารถในการจำระยะสั้นที่จำกัด คนส่วนมากจะสามารถจำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันได้เพียงครั้งละ 7 ± 2 อย่างเท่านั้น ในการทำงานที่จะเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้ใช้ชั่วคราว อาจจำเป็นต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการจำช่วย เช่น การจัดกลุ่มคำ หรือการท่องซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง ซึ่งจะสามารถช่วยให้จดจำสิ่งนั้นไว้ใช้งานได้ การเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง สามารถทำได้โดยข้อมูลนั้นจำเป็นต้องได้รับการประมวลและเปลี่ยนรูปโดยการเข้ารหัส (Encoding) เพื่อนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว (Long Term Memory) ซึ่งอาจต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ เข้าช่วย เช่น การท่องซ้ำหลาย ๆ ครั้ง หรือการทำข้อมูลให้มีความหมายกับตนเอง โดยการสัมพันธ์สิ่งที่เรียนรู้สิ่งใหม่กับสิ่งเก่าที่เคยเรียนรู้มาก่อน ซึ่งเรียกว่า เป็นกระบวนการขยายความคิด (Elaborative Operations Process) ความจำระยะยาวนี้มี 2 ชนิด คือ ความจำที่เกี่ยวกับภาษา (Semantic) และความจำที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ (Affective Memory) เมื่อข้อมูลข่าวสารได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะยาวแล้ว บุคคลจะสามารถเรียกข้อมูลต่าง ๆ ออกมาใช้ได้ ซึ่งในการเรียกข้อมูลออกมาใช้ บุคคลจำเป็นต้องถอดรหัสข้อมูล (Decoding) จากความจำระยะยาวนั้น และส่งต่อไปสู่ตัวก่อกำเนิดพฤติกรรมตอบสนอง ซึ่งจะเป็นแรงขับหรือกระตุ้นให้บุคคลมีการเคลื่อนไหว หรือการพูดสนองตอบต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ กระบวนการของการประมวลข้อมูลของมนุษย์

    ตอบลบ
  3. การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิส
    "การเรียนรู้ (Learning) ว่า เป็นการสร้างความรู้(Knowledge construction) ซึ่งมาจากพื้นฐานที่ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้สร้างสิ่งที่แทนความรู้ในความจำในระยะทำงาน(Working memory) อย่างตื่นตัว

    แนวคิดนี้ดังกล่าวข้างต้นเริ่มตั้งแต่ 1980s และ1990s โดยทำการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสภาพบริบทการเรียนรู้ที่แท้จริงเพิ่มมากขึ้น ภายใต้แนวคิดการสร้างความรู้ บทบาทของผู้เรียน เป็นผู้ที่ลงมือกระทำ ในขณะที่ครูผู้สอนเป็นผู้แนะแนวทางพุทธิปัญญา ซึ่งจะจัดแนะแนว และเป็นโมเดลในภารกิจการเรียนตามสภาพจริง บทบาทของนักออกแบบการสอน หรือครู จะเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมายกับเนื้อหาทางวิชาการ รวมถึงการทำให้เกิด กระบวนการในการเลือก จัดหมวดหมู่ และการบูรณาการ ข้อมูลข่าวสาร (Mayer, 2002)

    จากแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามพื้นฐานทางทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆทั้ง 3 แนวคิดดังกล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า งานที่สำคัญของครูก็คือช่วยนักเรียนแต่ละคนให้เกิดการเรียนรู้ โดยมีครูทำหน้าที่จัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพที่ตอบสนองกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

    จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่เน้น

    · การพัฒนากระบวนการคิดอย่างอิสระ

    · สร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง

    · เรียนรู้จากการปฏิบัติของตนเองโดยใช้วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อนำไปสู่
    คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมไทย คือสามารถคิดแบบองค์รวม เรียนรู้ร่วมกันและทำงานเป็นทีมเพื่อประโยชน์ของสังคมไทย โดยมีเป้าหมายให้คนไทยมีศักยภาพในการแข่งขันและร่วมมืออย่างสร้างสรรค์

    เมื่อกระบวนทัศน์ (Paradigm) เกี่ยวกับ การสอน เปลี่ยนมาเป็นการเรียนรู้ มาสู่การเน้น
    ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดังนั้น เทคโนโลยี และนวัตกรรมการศึกษา ตลอดจน สื่อการสอนจำเป็นต้องปรับกระบวนทัศน์เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จากเดิมที่เป็น สื่อการสอน มาเป็น สื่อการเรียนรู้ และนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ เพื่อที่จะนำมาใช้ในการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่ไม่ได้มุ่งเพียงเพื่อให้ผู้เรียนสามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้เท่านั้น แต่ยังมุ่งพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมไทย ได้แก่ ความสามารถคิดแบบองค์รวม เรียนรู้ร่วมกันและทำงานเป็นทีม ตลอดจนความสามารถในการแสวงหาความรู้ และสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อทำให้เป็นสังคมที่มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อที่สามารถแข่งขัน และร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในสังคมและ

    ตอบลบ
  4. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวอลดอร์ฟ

    เน้นการศึกษาเรื่องมนุษย์และความเชื่อมโยงของมนุษย์กับโลกและจักรวาล การเชื่อมโยงทุกเรื่องกับมนุษย์ไม่ใช่ให้มนุษย์ยึดตนเอง แต่เป็นการสอนให้มนุษย์รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตนในโลกมนุษย์ ปรัชญาเน้นความสำคัญของการสร้างความสมดุลใน 3 วิถีทาง คือ กาย ใจและสติปัญญา (HAND-HEART-HEAD) ของเด็กที่แตกต่างกันตามวัย ดังนั้นการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงยึดหลักการทำซ้ำ เด็กควรได้มีโอกาสทำสิ่งต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนการกระทำนั้นซึมลึกลงไปในกายและจิตจนเป็นนิสัย

    1. การจัดการศึกษา
    เนื่องจากเด็กวัยแรกเกิดถึง 7 ปี มีลักษณะที่เรียนรู้พร้อมกันไปทั้งตัวโดยการเลียนแบบที่มิใช่เฉพาะท่าทางภายนอก แต่เลียน
    แบบที่ลึกลงไปในจิตวิญญาณโดยที่เด้กเองไม่รู้ตัว ในวัยนี้ความดีงามของผู้ใหญ่รอบข้างจะซึมเข้าไปในตัวเองช่วยให้เด็กพัฒนา
    ความมุ่งมั่นในสิ่งดีงาม ดังนั้น การศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงยึดหลักต่อไปนี้

    1. การทำซ้ำ ( repetition) เด็กควรได้มีโอกาสทำสิ่งต่างๆซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนการกระทำนั้นซึมลึกลงไปในกายและจิต
    จนเป็นนิสัย
    2. จังหวะที่สม่ำเสมอ( rhythm )กิจกรรมในโรงเรียนต้องเป็นไปตามจังหวะสม่ำเสมอเหมือนลมหายใจเข้า - ออก
    ยามจิตใจสงบและผ่อนคลาย เด็กจะได้รู้สึกมั่นคงและปลอดภัย
    3.ความเคารพและการน้อมรับคุณค่าของทุกสิ่ง กิจกรรมและสื่อธรรมชาติที่จัดให้เด็กเพื่อให้เด็กเคารพและน้อมรับ
    คุณค่าของสิ่งต่างๆที่เกื้อหนุนชีวิตมนุษย์ ความเคารพและน้อมรับคุณค่าของสิ่งต่างๆจะเป็นแก่นของจริยธรรม
    ตลอดชีวิตของเด็ก

    2. 2. บทบาทครู

    ครูอนุบาลตามแนวคิดของวอลดอร์ฟนอกจากเป็นแบบอย่างของความมุ่งมั่นตั้งใจให้แก่เด็กแล้วยังมีบทบาทสำคัญอื่นๆ
    ได้แก่ การสังเกตเด็กขณะที่เด็กเรียน ไตร่ตรองความเจริญก้าวหน้าและปัญหาของเด็กหลังสอนและก่อนสอนการทำงานกับ
    พ่อแม่เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันและกันในฐานะผู้ร่วมกรุยทางชีวิตให้แก่เด็ก การปฎิบัติสมาธิ การทำกิจกรรมศิลปวัฒนธรรม
    และกิจกรรมอื่นๆเพื่อพัฒนาตนเอง
    ในแต่ละวัน ครูอนุบาลเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในชีวิตของเด็กขณะอยู่ที่โรงเรียน ความคิด ความรู้สึกและความมุ่งมั่น
    ตั้งใจของครูถ่ายทอดสู่เด็กโดยตรงด้วยพลังทั้งหมดในตัวครู ไม่ใช่เพียงผู้อำนวยการ ความสะดวกในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
    ของเด็กครูมิใช่เป็นผู้เรียกร้องหรือสร้างกฎเกณฑ์การกระทำของเด็กแต่ครูเป็นผ(ส่งพลังความมุ่งมั่นที่มีในตัวทั้งหมดให้แก่
    เด็กโดยการเป็นแบบอย่างของบุคคลที่พัฒนาความเป็นมนุษย์ในตัวเองตลอดเวลาพลังความมุ่งมั่นตั้งใจของครูจะเป็น
    รากฐานสำคัญในการพัฒนากายและจิตวิญญาณของเด็กทั้งในวัยด็กและวัยผู้ใหญ่

    3.การจัดบรรยากาศ
    ความงดงามของธรรมชาติจะปรากฎอยู่ทั้งกลางแจ้งและภายในอาคาร ภาพศิลปะ งานปฏิมากรรม
    กลิ่นหอมของธรรมชาติเป็นส่วนที่ทำให้บรรยากาศสงบและอ่อนโยน สีที่เหมาะสมกับเด็กแรกเกิดถึง 7 ปีคือ สีส้มอมชมพูเพราะเป็นสีที่นุ่มนวลทำให้เด็กรู้สึกถึงความรักความอบอุ่น แสงที่พอเหมาะกับเด็กอนุบาล คือ แสงธรรมชาติที่ไม่จ้าเกินไปหรือมืดทึมเกินไป

    4.เนื้อหาสาระ
    ในระดับปฐมวัยจะไม่มีการแบ่งเนื้อหาสาระเป็นวิชาแต่จะเป็นการจัดเนื้อหาสาระในรูปของประสบการณ์ในการเล่นและ
    ในการดำเนินชีวิตถ้าพิจารณาเนื้อหาสาระในแง่วิชาต่างๆก็จะพบว่าเนื้อหาสาระเหล่านั้นบูรณาการกันอย่างแน่นสนิทใน
    กิจกรรมต่างๆ

    5.กิจกรรมประจำวัน
    ครูจะกำหนดกิจกรรมแต่ละช่วงโดยคำนึงถึงหลักการ 3 ประการคือการทำซ้ำ จังหวะเวลาที่สม่ำเสมอ ความเคารพและน้อมรับคุณค่าของทุกสิ่ง ดังนั้นกิจกรรมประจำวันของโรงเรียนอนุบาลแต่ละแห่งก็จะยืดหยุ่นไปตามสภาพชีวิตในชุมชนนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นแบบแผนตายตัว

    ตอบลบ
  5. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องกัทธรี (Guthrie 1886-1959) เป็นศาสตราจารย์ทางจิตวิทยาชาวอเมริกันได้แนวความคิดจากทฤษฏีการเรียนรู้ของวัตสันคือ การศึกษาการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค “สิ่งเร้า ที่ทำให้เกิดอาการเคลื่อนไหวเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขที่แท้จริง”พฤติกรรมของมนุษย์มีสิ่งเร้าควบคุมและการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเปลี่ยนไปตามกฎเกณฑ์ ในการทำให้เกิดการเรียนรู้นั้น กัทธรีเน้นการจูงใจมากกว่าการเสริมแรง ซึ่งมีแนวความคิดเช่นเดียวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟและวัตสัน
    การเรียนรู้เกิดจากการกระทำหรือการตอบสนองเพียงครั้งเดียวไม่ต้องลองกระทำหลาย ๆ ครั้งหลักการนี้ใช้ได้กับผู้มีประสบการณ์เดิมมาก่อนหลักการเรียนรู้ของทฤษฎี กัทธรีมีแนวความคิดว่า การเรียนรู้เกิดจาก ความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองของผู้เรียนโดยเกิดจากการกระทำเพียงครั้งเดียว (One-Trial Learning) มิต้องลองทำหลายครั้ง เขาเชื่อว่าเมื่อใดก็ตามที่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า แสดงว่า ผู้เรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ปรากฏในขณะนั้นทันที และเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างสมบูรณ์ไม่จำต้องฝึก และสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดอาการเคลื่อนไหวเป็นสิ่งที่วางเงื่อนไขอย่างแท้จริง กัทธรีสรุปกฎการเรียนรู้ต่าง ๆ ไว้ดังนี้
    1. กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Contiguity) เมื่อมีสิ่งเร้ากลุ่มหนึ่งที่เกิดพร้อมกับอาการเคลื่อนไหว เมื่อสิ่งเร้านั้นเกิดขึ้นอีก อาการเคลื่อนไหวเดิมก็มีแนวโน้มที่จะเกิดตามมาด้วย เช่น เมื่อมีงูมาปรากฏต่อหน้าเด็กชาย ก. จะกลัวและวิ่งหนี ทุกครั้งที่เห็นงูเด็กชาย ก. ก็จะกลัวและวิ่งหนีเสมอ ฯลฯ
    2. กฎของการกระทำครั้งสุดท้าย (Law of Recency) หลักของการกระทำครั้งสุดท้าย (Recency) นั้น ถ้าการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์จากการกระทำเพียงครั้งเดียว ซึ่งเป็นการกระทำครั้งสุดท้ายในสภาพการณ์นั้น เมื่อสภาพการณ์ใหม่เกิดขึ้นอีกบุคคลจะทำเหมือนที่เคยได้กระทำในครั้งสุดท้าย ไม่ว่าการกระทำครั้งสุดท้ายจะผิดหรือถูก ก็ตาม
    3. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้แม้เพียงครั้งเดียว (One trial learning) เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น อินทร์จะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองออกมา ถ้าเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก หรือไม่จำเป็นต้องฝึกซ้ำ
    4. หลักการจูงใจ (Motivation) ในการทำให้เกิดการเรียนรู้นั้น กัทธรีเน้นการจูงใจ (Motivation) มากกว่าการเสริมแรง ซึ่งมีแนวความคิดเช่นเดียวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟและวัตสัน
    กัทธรีได้ทำการทดลองโดยใช้แมวและสร้างกล่องปัญหาขึ้น ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือจะมีกล้องถ่ายภาพยนตร์ติดไว้ที่กล่องปัญหาด้วย นอกจากนี้ยังมีเสาเล็ก ๆ อยู่กลางกล่องและมีกระจกที่ประตูทางออกประตูหน้า ซึ่งเปิดแง้มอยู่มีปลาแซลมอนวางอยู่บนโต๊ะข้างหน้ากล่อง กัทธรีจะสังเกตพฤติกรรมโดยการบันทึกภาพไว้ตั้งแต่แมวถูกขังไว้และหาทางออกจากกล่องปัญหาจนได้ จากการบันทึกและสังเกตพบว่าแมวบางตัวจะกัดเสาหลายครั้ง บางตัวก็จะหันหลังและชนเสา บางตัวหนีออกจากกล่องไป

    ตอบลบ