วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การบ้านวันที่ 8/8/55 งานวิจัยป.โท



1. เขียนชื่อเรื่่องงานวิจัย (ที่นำเข้าห้องสอบมิดเทอม)
2. วัตถุประสงค์การวิจัย
3. สมมติฐานการวิจัย
4. จากสมมติฐานสามารถบ่งชี้
   4.1 ตัวแปรตาม
   4.2 ตัวแปรต้น
   4.3 กลุ่มตัวอย่าง
   4.4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

5 ความคิดเห็น:

  1. 1. ชื่อวิทยานิพนธ์ : การพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกม วิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

    2. วัตถุประสงค์การวิจัย
    1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมวิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด
    2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกม
    3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมวิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด

    3. สมมติฐานการวิจัย
    1.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกม วิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
    2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกม สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
    3.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกม วิชาภาษาไทยเรื่องมาตราตัวสะกดอยู่ในระดับมาก

    4. จากสมมติฐานสามารถบ่งชี้
    4.1 ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่
    1.ตัวแปรต้น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกม วิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
    2.ตัวแปรตาม ได้แก่
    2.1 ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกม วิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด
    2.2 ผลสัมฤทธิ์การเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกม วิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด
    2.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด

    3. ประชากรและการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
    1. ประชากร เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปัญจทรัพย์ ดินแดงกรุงเทพมหานคร ประชากรทั้งหมด 250 คน จำนวน 5 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 50 คน
    2. กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปัญจทรัพย์ดินแดงกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการสุ่มห้องเรียนอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน1ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 50 คน

    4. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกม เรื่องมาตราตัวสะกด วิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544
    ในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกม โปรแกรมที่ใช้ในการจัดสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกม วิชาภาษาไทยเรื่องมาตราตัวสะกดระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คือ โปรแกรม Adobe Flash CS3

    ตอบลบ
  2. สมัครอันใหม่ก็ไม่ขึ้นอะ

    ตอบลบ
  3. ของเทพพิทักษ์ ไชยสลี

    1. เขียนชื่อเรื่่องงานวิจัย
    การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชา การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาลโดยใช้ทฤษฎีการคิดแก้ปัญหา ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

    2. วัตถุประสงค์การวิจัย
    2.1 เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาลโดยใช้ทฤษฎีกาคิดแก้ปัญหาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
    2.2 เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาลโดยใช้ทฤษฎีการคิดแก้ปัญหาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
    2.3 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังจากเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาลโดยใช้ทฤษฎีการคิดแก้ปัญหาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
    2.4 เพื่อหาความพึงพอใจต่อการใช้งานบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาลโดยใช้ทฤษฎีการคิดแก้ปัญหาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

    3. สมมติฐานการวิจัย
    3.1 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาลโดยใช้ทฤษฎีการคิดแก้ปัญหาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน E1/E2 เท่ากับ 80/80
    3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังจากเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาลโดยใช้ทฤษฎีการคิดแก้ปัญหาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสูงกว่าก่อนเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่พัฒนาขึ้น อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
    3.3 ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้งานบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาลโดยใช้ทฤษฎีการคิดแก้ปัญหาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับมาก

    4. จากสมมติฐานสามารถบ่งชี้
    4.1 ตัวแปรต้น
    ช่วงระยะเวลาการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา
    ปาสคาลโดยใช้ทฤษฎีการคิดแก้ปัญหาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งแบ่งเป็น ก่อนเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและหลังเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอ
    4.2 ตัวแปรตาม
    คือ ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาล
    โดยใช้ทฤษฎีการคิดแก้ปัญหาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาลโดยใช้ทฤษฎีการคิดแก้ปัญหาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ห้องเรียนของโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
    4.3 กลุ่มตัวอย่าง
    นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน ฤทธิยะวรรณาลัย ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการ
    เขียนโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาล ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ได้มาโดยวิธีการสุ่มเลือกห้อง ซึ่งมีทั้งหมด 15 ห้อง โดยแบ่งเป็น ห้องเก่ง 4 ห้องและห้องปานกลาง 11ห้อง ซึ่งผู้วิจัยทำการสุ่มแบบเจาะจงโดยเลือกห้องปานกลาง หลังจากนั้นผู้วิจัยใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก (Sample Random Sampling) ได้ 1 ห้องเรียน มีจำนวน 50 คน
    4.4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    เครื่องมือที่ใช้ในในการประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา
    ปาสคาล โดยใช้ทฤษฎีการคิดแก้ปัญหา ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีรายละเอียดดังนี้
    4.4.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบ่งออกเป็น แบบทดสอบก่อนเรียน(Pretest)
    และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ซึ่งเป็นข้อสอบชุดเดียวกัน ผู้วิจัยทำการสุ่มข้อสอบมาจากคลังข้อสอบที่ผ่านการประเมินเรียบร้อยแล้ว โดยเลือกมาวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมละ1 ข้อ
    4.4.2 แบบทดสอบวัดประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 มีดังนี้
    4.4.2.1 แบบทดสอบเมื่อเรียนจบในแต่ละบทเรียนเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือกที่มีคำตอบที่
    ถูกเพียงข้อเดียว และคะแนนจากการตรวจแบบฝึกหัดการคิดแก้ปัญหาในแต่ละบทเรียน สำหรับหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 ตัวแรก
    4.4.2.2 แบบทดสอบรวมหลังเรียนครบทุกหน่วยการเรียน เป็นทดสอบที่ใช้ให้
    ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 ตัวหลัง ซึ่งเป็นแบบทดสอบเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest)
    4.4.3 แบบประเมินด้านคุณภาพของการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการเขียน
    โปรแกรมด้วยภาษาปาสคาล โดยใช้ทฤษฎีการคิดแก้ปัญหา ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 2 ฉบับ คือ แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา และแบบประเมินคุณภาพด้านเทคนิค
    4.4.4 แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียน จากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
    วิชาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาล โดยใช้ทฤษฎีการคิดแก้ปัญหาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้วิจัยได้อ้างอิงจากงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยใช้เทคนิค STAD วิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของนางสาววลัยพร ดวงดี: 2551

    ตอบลบ
  4. อันข้างบนเป็นของหนูนะค่ะอาจารย์ เทพพิทักษ์ ไชยสลี

    ตอบลบ
  5. 1. วิทยานิพนธ์ การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรมระบบมัลติมีเดีย
    เรื่อง การใช้ระบบเมล์ Lotus Notes

    2. วัตถุประสงค์การวิจัย
    2.1 เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรมระบบมัลติมีเดีย โดยใช้การพัฒนา
    บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรมระบบมัลติมีเดีย เรื่อง การใช้ระบบเมล์ Lotus Notes ของ
    พนักงานฝ่ายพัฒนาธุรกิจและบริหารโครงการก่อสร้าง บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา
    2.2 เพื่อทดสอบประสิทธิภาพ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรมระบบมัลติมีเดีย โดยใช้
    การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรมระบบมัลติมีเดีย เรื่อง การใช้ระบบเมล์ Lotus Notes
    2.3 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผู้เรียนด้วยการพัฒนาบทเรียน
    คอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรมระบบมัลติมีเดีย เรื่อง การใช้ระบบเมล์ Lotus Notes

    3. สมมติฐานของการวิจัย
    3.1 ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรมระบบมัลติมีเดียช่วยเสริมการ
    ฝึกอบรมการใช้ระบบเมล์ Lotus Notes ของพนักงานฝ่ายพัฒนาธุรกิจและบริหารโครงการก่อสร้าง
    บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา ที่สร้างขึ้นมีค่าสูงกว่าหรือเท่ากับเกณฑ์ที่กำหนดอย่างน้อย 80/80
    3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรมหลังการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรม
    ระบบมัลติมีเดียช่วยเสริมการฝึกอบรมการใช้ระบบเมล์ Lotus Notes ของพนักงานฝ่ายพัฒนา
    ธุรกิจและบริหารโครงการก่อสร้าง บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง
    สถิติที่ระดับ .05

    4. จากสมมติฐานสามารถบ่งชี้
    4.1 ตัวแปรตาม พนักงานฝ่ายพัฒนาธุรกิจและบริหารโครงการก่อสร้าง ของ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา
    4.2 ตัวแปรต้น การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรมระบบมัลติมีเดียเรื่อง การใช้ระบบเมล์ Lotus Notes
    4.3 กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานฝ่ายบริหารโครงการก่อสร้าง จำนวน 1 แผนก 30 คน
    ของบมจ.เซ็นทรัลพัฒนา คัดเลือกโดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
    4.4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
    4.4.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยใช้บทเรียน
    คอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรมระบบมัลติมีเดีย เรื่อง การใช้ระบบเมล์ Lotus Notes
    4.4.2 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรมระบบมัลติมีเดีย เรื่อง การใช้ระบบเมล์ Lotus Notes
    4.4.3 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
    4.4.4 ประเมินผลบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรม

    ตอบลบ